เชื่อว่าทุกคนคงเคยสงสัยว่า ทำไมบางเว็บไซต์ถึงมีการจดจำข้อมูลของเราได้ ไม่ว่าจะเป็นจดจำรหัสการเข้าใช้งาน หรือการเลือกเก็บรายการสั่งซื้อของออนไลน์บนเว็บไซต์ ซึ่งไม่ว่าเราจะทำการออกจากเว็บไซต์ไปแล้วกลับเข้ามาใหม่ ข้อมูลเหล่านั้นก็ยังคงอยู่ สิ่งนี้เรียกว่า ‘Cookie’ นั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันนี้เว็บไซต์ส่วนใหญ่ก็มีฟังก์ชันนี้เกิดขึ้น เพื่อจดจำข้อมูลบางอย่างของผู้ใช้งาน และอำนวยความสะดวกในครั้งถัดไปที่เข้าเว็บไซต์ให้กลายเป็นผู้ที่เคยเข้าไปใช้งานเว็บไซต์นั้นมาแล้ว
Cookie บนเว็บไซต์คืออะไรกันแน่นะ ?
Cookie เป็นไฟล์ข้อความขนาดเล็กที่ถูกเก็บบันทึกเอาไว้ในคอมพิวเตอร์ของเรา ได้มาจากการเชื่อมต่อระหว่างเว็บไซต์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ Cookie ถูกสร้างขึ้นมาโดยโปรแกรมเมอร์ที่มีชื่อว่า ลู มนทูลลี่ (Lou Montulli) ซึ่งไฟล์ Cookie นี้จะถูกสร้างขึ้นโดยอัตโนมัติเมื่อเราใช้เว็บเบราว์เซอร์เข้าชมเว็บไซต์ต่าง ๆ ช่วยให้ประสบการณ์ในการใช้อินเทอร์เน็ตของผู้ใช้ได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เพราะ Cookie จะทำหน้าที่จดจำข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเว็บไซต์
Cookie มีข้อดีอย่างไรบ้าง ?
● Cookie จะช่วยจดจำเวลาที่เราเข้าไปยังเว็บไซต์ใดเว็บไซต์หนึ่ง และเมื่อมีโฆษณาจากแพลตฟอร์มอื่นมาปรากฏก็จะเป็นแค่ซึ่งคุณจะเห็นโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับความสนใจของเราเท่านั้น
● Cookie จะช่วยบันทึกข้อมูลชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านเวลาเข้าใช้งานบนเว็บไซต์ ช่วยลดขั้นตอนการกรอกข้อมูล ทำให้ใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น
● Cookie จะช่วยจดจำพฤติกรรมการใช้งานเบราว์เซอร์ของเราได้ เพราะฉะนั้นเมื่อเราเสิร์ชหาข้อมูลอะไรบ่อย ๆ Search engine ก็จะปรากฏเว็บไซต์ที่เข้าชมบ่อยเป็นอันดับต้น ๆ ของผลลัพธ์ของการค้นหา
ซึ่ง Cookie ก็ไม่ได้มีแต่ข้อดีเพียงอย่างเดียว เพราะอาจจะมีเว็บไซต์อื่นที่สามารถเข้าถึงข้อมูลอันเป็นส่วนตัวของเราได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นผู้ใช้งานเว็บไซต์ทุกคนควรรู้หลักการทำงานของ Cookie เอาไว้บ้าง เพื่อที่จะควบคุมความเป็นส่วนตัวของตัวเองบนอินเทอร์เน็ตได้นั่นเอง
หลักการทำงานของ Cookie มีอะไรบ้าง ?
เมื่อผู้ใช้เข้าชมเว็บไซต์ใดเว็บไซต์หนึ่ง เว็บเซิร์ฟเวอร์จะส่งข้อความสั้นๆ ไปยังเว็บเบราว์เซอร์ หลังจากนั้นเว็บเซิร์ฟเวอร์จะบันทึกข้อความดังกล่าวในรูปแบบของไฟล์ “cookie.txt” และเมื่อผู้ใช้คลิกไปยังหน้าอื่น ๆ ของเว็บไซต์ เว็บเซิร์ฟเวอร์ก็จะส่งข้อความกลับไปยังเว็บเบราว์เซอร์ว่าเรากำลังดูหน้าไหนของเว็บไซต์อยู่
จริง ๆ แล้ว Cookie ไม่ได้มีแค่ประเภทเดียวเท่านั้น ซึ่งประเภทหลัก ๆ ของ Cookie มีอยู่ 6 ประเภทด้วยกัน
ประเภทต่าง ๆ ของ Cookie บนเว็บไซต์
- Session cookies หรือ หน่วยความจำชั่วคราวของเว็บไซต์
Cookie ประเภทนี้จะทำงานก็ต่อเมื่อเราเปิดเว็บไซต์เท่านั้น เมื่อปิดเว็บไซต์ Cookie ก็จะหายไปทันที ไม่ได้มีการบันทึกข้อมูลใด ๆ
2. Persistent Cookies หรือ Cookie ที่อยู่แบบถาวร
Cookie ประเภทนี้มีข้อแตกต่างเล็กน้อยจากประเภทอื่น ๆ คือจะอยู่บนคอมพิวเตอร์เมื่อมีการปิดเบราว์เซอร์ ได้รับการออกแบบมาเพื่อจดจำการตั้งค่าในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น รายละเอียดการเข้าสู่ระบบ หรือสินค้าที่ดูล่าสุด
3.Third-party Cookies หรือ Cookie ของบุคคลที่สาม
Cookie ประเภทนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก คือเป็น Cookie ที่อนุญาตให้บุคคลที่สามเข้าถึงและแสดงโฆษณาต่อผู้เข้าชมเว็บไซต์
4. First-party Cookies หรือ Cookie ของบุคคลที่หนึ่ง
Cookie ประเภทนี้ เจ้าของเว็บไซต์จะเป็นผู้กำหนดขึ้นมา Cookie ประเภทนี้จะมีการปรับปรุงการทำงานโดยรวมของเว็บไซต์ ที่ไม่ว่าจะปิดเว็บไซต์ออกไปแล้วก็ยังคงจดจำข้อมูลเอาไว้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น ข้อมูลการลงชื่อเข้าสู่ระบบ
5. Marketing Cookies หรือ Cookie ทางการตลาด
Cookie ประเภทนี้คล้ายกับThird-party Cookies โดยหลัก ๆ แล้วจะใช้เพื่อแสดงโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับความสนใจของผู้ใช้งาน
6. Performance and analytical cookies หรือ Cookie ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์
Cookie ประเภทนี้ช่วยให้เจ้าของเว็บไซต์สามารถประเมินประสิทธิภาพและความสามารถในการใช้งานโดยรวมของเว็บไซต์ได้ เช่น ระยะเวลาการเข้าชม หรือสิ่งที่คนเข้าถึงบนเว็บไซต์
ดังนั้นเมื่อรู้หลักการทำงานและประเภทต่าง ๆ ของ Cookie บนเว็บไซต์แล้วในแง่และในแง่ของผู้ใช้งานเว็บไซต์ ก็ควรจะมีการพิจารณาในทุกครั้งก่อนที่จะยินยอมให้ข้อมูลเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน และด้านข้อมูลส่วนบุคคลด้วยนั่นเอง